สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท12/09/2024
ผู้เข้าชม5618572
แสดงหน้า7863931
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
September 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
     
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)

อ่าน 20965 | ตอบ 4

บทนำ

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่เกิดขึ้นกับคนนับล้านคนในแต่ละปี การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะพบบ่อยเป็นอันดับที่สอง รองจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าชาย 1ใน 5 ของผู้หญิงจะเกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิต แม้ว่าจะพบไม่บ่อยที่สุด แต่ก็สามารถเป็นอันตรายได้เมื่อเกิดโรคนี้ขึ้น

ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต 2 ข้าง (kidney) ท่อสายไต (ureter) กระเพาะปัสสาวะ (bladder) และท่อปัสสาวะ (urethra) อวัยวะที่สำคัญคือไต 2 ข้างมีสีม่วง-น้ำตาล (purplish-brown) อยู่ใต้กระดูกซี่โครงไปทางกลางหลัง ไตจะกรองของเสียออกจากเลือดในรูปของน้ำปัสสาวะ ควบคุมสมดุลย์ของเกลือแร่และสารต่างๆในเลือด ผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ท่อสายไตนำปัสสาวะมาเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ที่มีรูปทรงเป็นถุงสามเหลี่ยมในช่องท้องตอนล่าง เก็บปัสสาวะไว้และปัสสาวะออกทางท่อปัสสาวะ ตามปกติในผู้ใหญ่จะมีปัสสาวะประมาณวันละ 1-1.5 ลิตรและเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับน้ำและอาหาร ตอนกลางคืนจะมีปัสสาวะประมาณครึ่งหนึ่งของปัสสาวะที่เกิดขึ้นตอนกลางวัน

สาเหตุของ UTI

โดยปกติปัสสาวะจะไม่มีเชื้อโรค ปัสสาวะประกอบด้วยน้ำ เกลือและของเสียและไม่มี แบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา การติดเชื้อเกิดขึ้นเมื่อเชื้อแบคทีเรียจากระบบทางเดินอาหารมาที่ทางเปิดของท่อปัสสาวะและแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้น การติดเชื้อมักพบว่าเกิดจากแบคทีเรียเพียงครั้งละชนิดเดียว เช่น Escherichia coli  (E. coli) ซึ่งตามปกติอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ 
ในส่วนใหญ่แบคทีเรียจะอยู่ที่ท่อปัสสาวะ การติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะเรียกว่า urethritis และย้อนขึ้นไปถึงกระเพาะปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะเรียก cystitis ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงทีการติดเชื้อต่อขึ้นไปถึงท่อสายไตไปที่ไต การติดเชื้อที่ไตเรียกว่า pyelonephritis

เชื้อโรคขนาดเล็กเรียกว่า Chlamydia and Mycoplasma อาจทำให้เกิดโรค UTI ในชายและหญิงแต่โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะติดเชื้อเฉพาะท่อปัสสาวะและระบบอวัยวะสืบพันธุ์ (urethra and reproductive system) ไม่เหมือนกับ E. coli , Chlamydia และ Mycoplasma จะติดต่อทางเพศสัมพันธุ์ และการรักษาก็จะต้องรักษาทั้งคู่ชายหญิง (both partners)

ระบบปัสสาวะมีลักษณะที่จะกำจัดการติดเชื้อได้อยู่แล้ว ท่อสายไตและกระเพาะปัสสาวะโดยปกติจะป้องกันไม่ให้ปัสสาวะไหลย้อนกลับทางไปที่ไตได้ เป็นการชะล้างเอาแบคทีเรียออกไปจากร่างกาย ในผู้ชายต่อมลูกหมาก (prostate gland) จะสร้าง secretiion ที่ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และในทั้งชายและหญิงระบบภูมิคุ้มกันจะป้องกันการติดเชื้อ แม้ว่าร่างกายจะมีระบบป้องกันเช่นนี้ ก็ยังเกิดการติดเชื้อ UTI ได้

ในเด็กแรกเกิดที่มีอาการ sepsis มีแบคทีเรียในกระแสเลือด อาจเกิดการติดเชื้อที่ไตได้

ใครบ้างที่มีโอกาสติดเชื้อ UTI

ในบางคนมีโอกาสที่จะติดเชื้อ UTI มากกว่าคนอื่นๆ การที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสวะ เช่นมีนิ่วในไต หรือต่อมลูกหมากโตทำให้การใหลของปัสสาวะติดขัด เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ที่พบบ่อยก็คือสายสวนปัสสาวะ (catheters) หรือการที่ใส่ท่อไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ในคนไข้ที่ปัสสาวะไม่ออก คนที่หมดสติ หรือคนที่ระบบประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน ที่ต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ตลอด แบคทีเรียที่สายสวนปัสสวะสามารถทำให้ติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ ดังนั้นทางโรงพยาบาลจึงต้องระมัดระวังให้สายสวนปัสสาวะปราศจากเขื้อ และเอาสายสวนปัสสาวะออกให้เร็วที่สุด 
ผู้เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะเพราะมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภูมิคุ้มกัน ความผิดปกติอื่นๆที่ทำใหัภูมิคุ้มกันลดลงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ

UTI อาจเกิดขึ้นในทารกที่มีความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะมาแต่กำเนิดบางครั้งอาจต้องผ่าตัดแก้ไข ในเด็กชายและวัยรุ่นชายมักไม่ค่อยพบ UTI แต่ในผู้หญิงจะพบว่าอัตราป่วยด้วย UTI เพิ่มขึ้นไปพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะว่าท่อปัสสาวะในผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชายทำให้แบคทีเรียเข้าถึงกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายกว่า และทางเปิดของท่อปัสสาวะอยู่ใกล้ช่องคลอดและทวารหนัก ในบางคนการร่วมเพศอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ UTI โดยที่สาเหตุยังไม่ชัดเจน

ผู้หญิงที่ใช้ Diaphragm ในการคุมกำเนิด เกิด UTI บ่อยกว่าผู้หญิงที่ใช้วิธีคุมกำเนิดแบบอื่นๆ และผู้หญิงที่มีชายใช้ถุงยางอยามัยที่มี spermicidal foam มักจะเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย E. coli ในช่องคลอด

การติดเชื้อ UTI ซ้ำอีก

ประมาณ 20% ที่เคยติดเชื้อ UTI จะกลับเป็น UTI ซ้ำอีก และ 30% ก็จะเป็นซ้ำอีกครั้ง และในกลุ่มนี้ 80% จะกลับเป็นซ้ำ การติดเชื้อซ้ำมักจะเกิดจากแบคทีเรียคนละชนิดกับครั้งแรก แสดงถึงเป็นการติดเชื้อคนละครั้ง แต่ส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็น E. coli

งานวิจัยที่ได้รับทุนจาก National Institutes of Health (NIH) พบว่า UTI เกิ่ยวข้องกับการที่แบคทีเรียเกาะติด กับเซลล์ผิวของท่อปัสสาวะได้ง่ายและเกี่ยวข้องกับกรุ๊ปเลือด ซึ่งจะต้องศึกษากันต่อไป

การติดเชื้อ UTI ในระหว่างตั้งครรภ์

ระหว่างตั้งครรภ์จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ UTI และเมื่อเกิด UTI ก็มักเกิดขึ้นไปถึงไตทั้งสองข้าง พบว่า 2-4% ของผู้ตั้งครรภ์จะเกิด UTI เชื่อว่าการที่ท่อทางเดินปัสสาวะเลื่อนตำแหน่งไปจากเดิมทำให้แบคทีเรียเข้าไปถึงท่อสายไตและไปถึงไตได้ง่าย จึงควรตรวจปัสสาวะเป็นระยะ

อาการของ UTI

ในบางคนก็ไม่มีอาการ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการเหล่านี้ คืออยากไปปัสสาวะบ่อยๆ ปวดร้อนบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ปวดกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะขณะปัสสาวะ ปวดบริเวณกระดูกหัวหน่าว และตึงบริเวณทวารหนัก ปัสสาวะมีครั้งละน้อย ปัสสาวะขุ่น บางครั้งอาจมีเลือดปน อาการไข้แสดงถึงว่ามีการติดเชื้อไปถึงไต อาจปวดหลังบริเวณใต้กระดูกซี่โครง คลื่นไส้ อาเจียน

อาการของ UTI ในเด็ก อาจถูกมองข้ามเนื่องจากอาการอื่นๆ เช่น irritable ไม่กินอาหาร ไข้ ปัสสาวะรดที่นอน หรือไม่เติบโตตามวัย

การวินิจฉัย

โดยการตรวจปัสสาวะ clean catch โดยการล้างมือ และทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ (penis or vulva) และเก็บ midstream urine โดยปัสสาวะออกไปก่อนเพียงเล็กน้อยแล้วหยุด เอาภาชนะที่ปลอดเชื้อมารองปัสสาวะปริมาณ 10-15 มล. ตามที่ต้องการ และปัสสวะส่วนที่เหลือทิ้งไป เพื่อป้องกันแบคทีเรียจากบริเวณข้างเคียงมาปนเปื้อนในปัสสาวะ ส่งปัสสาวะไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการ หรือในบางคลินิกอาจมีเครื่องมือตรวจปัสสาวะได้ จะตรวจหาเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และแบคทีเรีย และส่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย culture (ในผู้หญิงหากเพาะเชื้อขึ้น มีแบคทีเรียชนิดเดียว มีโคโลนีเกิน 105 ต่อ มล.ของปัสสาวะ บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อ) และตรวจสอบยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ ว่ายาปฏิชีวนะชนิดใดสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรียได้ดี เรียกว่า sensitivity test

Chlamydia และ Mycoplasma ต้องใช้ media พิเศษจึงจะเพาะเชื้อได้ จะนึกถึง Chlamydia และ Mycoplasma หากว่ามีอาการ UTI พบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ และการเพาะเชื้อแบบธรรมดาเพาะเชื้อไม่ขึ้น

ถ้าหากสงสัยการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดอื่นๆ อาจตรวจย้อม Gram Stain ซี่งตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้ผลทันที ถ้า bacteria ติดสีน้ำเงินเรียก gram-positive ถ้าติดสีชมภูเรียก gram-negative

ถ้าหากว่ายังไม่หาย อาจจะต้องตรวจดูภาพของระบบปัสสาวะคือ intravenous pyelogram (IVP) ตรวจ x-ray bladder, kidneys, และ ureters และฉีดสี opaque dye เข้าเส้นเลือดและ x-ray ตามกำหนดเวลา จะสามารถเห็นทางเดินระบบปัสสาวะและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินระบบปัสสาวะ

ถ้าพบว่าเป็น UTI ซ้ำอีกอาจต้องตรวจอัลตราซาวนด์ เป็นการตรวจหา hydronephrosis (obstructions of the flow of urine) นิ่วในไต และ kidney abscesses ในผู้ชายตรวจ prostate อาจพบว่ามีขนาดโตขึ้นหรือเป็นหนอง (abscesses) ในเด็กอาจพบ vesicoureteral reflux ซึ่งตรวจสอบ valve-like mechanism ของกระเพาะปัสสาวะและท่อสายไต แม้ว่าจะตรวจได้ไม่ชัดเจนเท่าวิธี voiding cystourethrography

หรืออาจตรวจด้วยวิธีส่องกล้องตรวจ cystoscopy เพื่อตรวจด้านในของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ ตรวจ structural abnormalities, interstitial cystitis, หรือ ก้อนที่ไม่เห็นโดย x-rays

การรักษา

รักษาด้วยยาปฏิชีวนะขึ้นกับประวัติและผลตรวจเพาะเชื้อปัสสาวะ ส่วนใหญ่คือยา trimethoprim/ sulfamethoxazole, amoxicillin, nitrofurantoin, ampicillin. และกลุ่ม quinolones คือ ofloxacin, norfloxacin, ciprofloxacin,และ trovafloxin ตามปกติมักจะหายใน 1-2 วัน แต่ก็ควรได้ยาต่อไปประมาณ 7-14 วันเพื่อให้เชื้อหมดไป ไม่แนะนำการให้ยาเพียงครั้งเดียว (single dose) ถ้าเกิดจาก Mycoplasma หรือ Chlamydia .ใช้ยา tetracycline, trimethoprim/sulfamethoxazole (TMP/SMZ), หรือ doxycycline อาจตรวจปัสสาวะ (urinalysis) ซ้ำ เพื่อยืนยันว่าโรคหมดแล้ว

ผู้ที่ป่วยมากที่มีการติดเชื้อที่ไต อาจต้องรับไว้ในโรงพยาบาลจนกว่าจะสามารถกินอาหารและยาได้เอง การติดเชื้อที่ไต มักจะต้องได้ยาหลายสัปดาห์ อาจต้องตรวจ Blood Cultures เพื่อตรวจดูว่ามีเชี้อในกระแสเลือดด้วยหรือไม่

ยาหลายชนิดสามารถบรรเทาอาการปวดในระบบทางเดินปัสสาวะ (เช่น pyridium) อาจใช้ heating pad ควรดื่มน้ำให้มาก งดเว้นกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารรสจัด ควรงดสูบบุหรี่

การติดเชื้อ UTI ซ้ำในผู้หญิง

ผู้ที่เคยเป็น UTI ถึง 3 ครั้งมักจะเป็นอีก 4 ใน 5 จะเป็นใหม่ใน 18 เดือน ผู้ที่เป็นบ่อย เช่น ปีละ 3 ครั้งควรปรึกษาแพทย์เพื่อใช้วิธีดังต่อไปนี้
  1. กินยาขนาดน้อย low dose เช่น TMP/SMZ หรือ nitrofurantoin วันละครั้งทุกวัน เช่น ก่อนนอน เป็นเวลา 6 เดือน
  2. กินยาปฏิชีวนะ 1 ครั้งหลังจากมีเพศสัมพันธ์
  3. กินยาปฏิชีวนะ 1-2 วันถ้ามีอาการอีก
  4. Dipsticks ใช้ตรวจ nitrite ที่ถูกเปลี่ยนมาจาก nitrate ถ้ามีแบคทีเรียในปัสสาวะ ให้ผล 90%
อาจมีวิธีอื่นๆอีก เช่น
  • ดื่มน้ำให้มาก อาจดื่มน้ำผลไม้ cranberry juice ซึ่งทำให้ปัสสาวะเป็นกรด เช่นเดียวกับวิตามินซี
  • ไปปัสสาวะเมื่อปวดปัสสาวะไม่กลั้นปัสสาวะ
  • ถ้าใช้กระดาษทิชชูเช็ดบิรเวณอวัยวะเพศให้เริ่มเช็ดจากด้านหน้าช่องคลอดไปทางด้านทวารหนักเสมอ
  • อาบน้ำโดยใช้ฝักบัว (showers) แทนการอาบในอ่างอาบน้ำ
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศก่อนการร่วมเพศ
  • ไม่ใช้สเปรย์หรือ douches ซึ่งอาจระคายเคืองท่อปัสสาวะ
  •  มีหลักฐานพบว่า probiotic มีบทบาทในการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ โดยเฉพาะเชื้อจุลินทรีย์สายพันธุ์ lactobacillus พบว่าเชื้อดังกล่าวทำหน้าที่เป็นตัวกีดกันจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคจากทวารเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
     

UTI ขณะตั้งครรภ์

ต้องรีบรักษาทันทีอาจเกิดคลอดก่อนกำหนด อาจเกิด miscarriage จากบางสายพันธุ์ของ E. coli หรือเกิดความดันโลหิตสูง เนื่องจากมีข้อจำกัดการใช้ยาปฏิชีวนะ จะต้องเลือกยาที่ได้ผลและระมัดระวังผลที่จะไปถึงเด็กด้วย

การติดเชื้อ UTI ที่มีสาเหตุมาจากการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ

ถ้าหากมีการอุดกั้นของท่อทางเดินปัสสาวะหรือระบบประสาทผิดปกติ อาจต้องมีการแก้ไขโดยการผ่าตัด ถ้าไม่รักษาที่ต้นเหตุ จะเสี่ยงต่อการที่จะเกิดไตอักเสบ เชื้ออาจเกิดจากแบคทีเรียได้หลายชนิดและอาจเกิดติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดในคราวเดียว

การติดเชื้อ UTI ในผู้ชาย

มักจะมีต้นเหตุมาจากการอุดกั้นของท่อทางเดินปัสสาวะ เช่นนิ่วในท่อทางเดินปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมากโต หรือจาก การสวนปัสสาวะ ต้องหาเชื้อที่เป็นสาเหตุเลือกยาที่ไวต่อเขื้อ มักจะต้องให้ยานานกว่าผู้หญิงเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก

การติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก รักษายากเพราะยาปฏิชีวนะเข้าไม่ถึงต่อมลูกหมากที่ติดเชื้อ ดังนั้นผู้ชายที่เกิดการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมากต้องการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้องและใช้เวลารักษานาน การติดเชื้อในผู้ชายสูงอายุมักมีการติดเชื้อที่ต่อมลูกหมาก ซึ่งอาจเสียชีวิตได้ถ้าไม่ได้รับการรักษา

http://www.niddk.nih.gov/health/urolog/pubs/utiadult/utiadult.htm 
http://www.niddk.nih.gov/health/urolog/pubs/utichild/utichild.htm

http://health.medscape.com/cx/viewarticle/202534_7

สนใจผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
http://goodproduct.net/product/detail-45066.html หรือ
http://goodproduct.net/product/detail-42284.html

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/