สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท17/03/2024
ผู้เข้าชม5515999
แสดงหน้า7746468
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
March 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
     
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
      
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)

อ่าน 3860 | ตอบ 1

NCD ย่อมาจาก Non Communicable Disease หรือโรคไม่ติดต่อ โรคที่มาจากพฤติกรรมชีวิต(ที่ไม่ดี) เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและอุดตัน โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ โรคมะเร็ง โรคอ้วน โรคที่เกิดจากบุหรี่ โรคที่เกิดจากการดื่มสุรา โรคเบาหวาน ฯลฯ

                รายงานขององค์การอนามัยโลก ในปี ค.ศ.2008 (พ.ศ.2551) จากยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมดในปีนั้น 57 ล้านคน ปรากฏว่า 36 ล้านคน หรือ 63% เกิดจากโรคที่ไม่ติดต่อ อันดับหนึ่ง คือ โรคหลอดเลือดหัวใจ (48% หรือ 17.28 ล้านคน) โรคมะเร็ง (21% หรือ 7.6 ล้านคน) โรคระบบหายใจเรื้อรัง (12% หรือ 4.2 ล้านคน) และโรคเบาหวาน(ที่เป็นสาเหตุโดยตรง 3.5% หรือ 1.3 ล้านคน) ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดมาจากพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งดื่มแอลกอฮอล์มากไป

                ประมาณ 80%ของยอดผู้เสียชีวิตของโรคไม่ติดต่อ หรือ 29 ล้าน(จาก 36 ล้าน) เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลาง และมากกว่า 9 ล้านคนที่เสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อมีอายุน้อยกว่า 60 ปี (วัยทำงานหารายได้ให้ครอบครัว) และ 90%ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลาง โรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง ระบบหายใจเรื้อรัง และเบาหวาน เป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 80% ปัจจัยเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ 4 ประการ คือ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ที่มากเกินไป และอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

                โรคไม่ติดต่อเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ติดจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง มักมีการดำเนินการของโรคอย่างช้าและใช้เวลานาน จึงจำเป็นต้องมีพฤติกรรมที่เหมาะสมตั้งแต่ “เกิด”

                คนทุกวัยมีสิทธิ์ที่จะเป็นโรคไม่ติดต่อ แต่โรคกลุ่มนี้มักพบในผู้สูงอายุ (เพราะใช้เวลานาน)

                โรคไม่ติดต่อมักมาจากการเป็นผู้สูงอายุ การที่เมืองต่างๆเติบโตอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางแผน จึงมีการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ไขมัน และน้ำตาลในเลือดสูง น้ำหนักเกินหรืออ้วน ซึ่งถือได้ว่าปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็น  “Intermediate risk factors” (ปัจจัยเสี่ยง) ที่จะนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ฯลฯ

                การสูบบุหรี่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 6 ล้านคนทุกปี(รวมทั้ง 6 แสนคนที่เสียชีวิตจากการสูดควันบุหรี่จากผู้อื่นที่สูบบุหรี่ทั้งๆ ที่ตนเองไม่สูบ!!! - พ่อ แม่จึงควรระวังลูกหลาน) และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านในปี ค.ศ.2030

                มีผู้เสียชีวิต 3.2 ล้านคนจากการที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

                1.7 ล้านคนเสียชีวิตจากการทานผลไม้และผักน้อยไป

                มีคนเสียชีวิต 2.5 ล้านคน (WHO 2012) จากการดื่มแอลกอฮอล์

                โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตถึง 16.5% ของทั่วโลก บุหรี่ น้ำตาลในเลือดสูง การไม่ออกกำลังกาย และน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 9%, 6%, 6% และ 5% ตามลำดับ

                ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้สามารถป้องกัน หรือลดความเสี่ยงได้ด้วยการมีความรู้ที่ถูกต้องและมีวินัยที่จะประพฤติตนเองให้เหมาะสม

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์
 

จาก http://www.naewna.com/lady/columnist/6624

  • Lifestyle ก่อโรค

              การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน เปรียบเหมือนทางด่วนที่ก่อให้เกิดโรคร้ายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วค่ะ เพราะ Lifestyle หลาย ๆ อย่างที่หลายคนคุ้นเคยก็ล้วนส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น เช่น
     
               สูบบุหรี่ ปัจจุบันพบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปีละประมาณ 5 ล้านคน และคาดว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าจะมีผู้เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ เพิ่มเป็นปีละประมาณ 8 ล้านคน

              ส่วนในประเทศไทย ผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2552 พบคนไทยสูบบุหรี่ 10.9 ล้านคน เป็นชาย 10.3 ล้านคน หญิง 5.4 แสนคน โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่กว่า 42,000 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล โดยเฉพาะโรคมะเร็งไม่ต่ำกว่าปีละ 100,000 คน (ข้อมูลจาก นสพ.ฐานเศรษฐกิจ)
     
               ดื่มเหล้า ผลสำรวจของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เมื่อปี 2553 พบว่าเยาวชนไทยและผู้หญิงไทยดื่มเหล้ามากขึ้นเป็นเท่าตัว และพบว่าคนไทยมีพฤติกรรมการดื่มเหล้าและอยู่ในภาวะติดเหล้ามากถึง 5.3 ล้านคน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้หญิง
     
               ทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย 3 อย่างนี้มักจะมาด้วยกันค่ะ ด้วยเหตุผลที่ว่าทำงานหลายชั่วโมงจนแทบไม่มีเวลาพักผ่อนอยู่แล้ว จะเอาเวลา เอาเรี่ยวแรงจากไหนไปออกกำลังกาย จนเกิดปัญหาสุขภาพ
     
    ปรับ Lifestyle ปลอดภัยจากโรค

              แม้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตที่เราเคยปฏิบัติกันมาจนเคยชิน จะสามารถทำให้เกิดโรคร้ายแรงได้มากมาย แต่วิธีป้องกันและแก้ไขก็ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตเท่านั้นค่ะ ซึ่งการปรับ Lifestyle เพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้น ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะต่อตนเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสมาชิกในครอบครัวอีกด้วยค่ะ อาทิ

               สามารถดูแลคนที่รักอย่างสามี ภรรยา ลูก รวมถึงสมาชิกคนอื่น ๆ ของครอบครัวได้อย่างเต็มที่

               เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกในเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพ และการใช้ชีวิตให้ปลอดภัยจากโรค

               มีเวลาที่จะทำกิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน เช่น การออกกำลังกาย แทนที่จะไปนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

               ประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะหากสุขภาพแข็งแรงก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ซึ่งบางโรคต้องใช้เวลานานในการรักษา ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง


     
    สุขภาพดี
     

    เคล็ดลับเพื่อการมีสุขภาพดี

               1.กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ สะอาดถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับวัย หลีกเลี่ยงอาหารที่จะเป็นโทษต่อร่างกาย ก็จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดีแล้วล่ะค่ะ
     
               2.อารมณ์ดี สุขภาพดี เป็นสิ่งที่สามารถบอกสภาวะของร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องดูแลควบคู่กันไปค่ะ หากสุขภาพกายดีสุขภาพจิตใจก็จะดีไปด้วย ในทางกลับกันหากสุขภาพจิตดี สุขภาพกายก็จะดีไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นเรื่องของอารมณ์และจิตใจจึงเป็นสิ่งที่ต้องดูแลให้แข็งแรงไม่แพ้ร่างกายค่ะ
     
               3.ออกกำลังกาย สร้างสมอง เป็นวิธีดูแลสุขภาพง่าย ๆ ที่ทำได้แทบทุกที่ แถมยังประหยัด และช่วยเสริมสร้างความรักความผูกพันให้สมาชิกในครอบครัวได้อีกด้วยค่ะ เช่น การเล่นกีฬาร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น
     
              การเริ่มต้นใหม่ไม่มีคำว่าสายค่ะ หากคุณมี Lifestyle ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็เพียงแค่ปรับเปลี่ยนเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า หากดีอยู่แล้วก็ปรับปรุงให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น เพียงเท่านี้คุณและคนที่คุณรักก็จะห่างไกลโรคร้ายจาก Lifestyle disease แล้วค่ะ
     

     

     

    จาก http://health.kapook.com/view37052.html

 


 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/