สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท27/09/2024
ผู้เข้าชม5639016
แสดงหน้า7886548
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
October 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
  
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
  
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน

อ่าน 6118 | ตอบ 2

 

 

 

โรความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานเป็นภาวะที่พบได้บ่อย
        การสำรวจจากประชากรผู้ใหญ่ในประเทศไทยทั้งที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและภาคต่าง ๆ 4 ภาค เมื่อปี 2543 พบว่าคนไทยที่อายุมากกว่า 35 ปี เป็นโรคเบาหวานมาถึง 9.6 % หรือ 2.4 ล้านคน และเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 20 % หรือ 5.1 ล้านคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานมักจะมีความดันโลหิตสูงกว่าคนที่ไม่เป็นเบาหวาน  และในทางกลับกันผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานมากกว่า คนที่มีความความดันโลหิตปกติ เนื่องจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง  เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในประชากรและมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด  ดังนั้น  จึงมีโอกาสที่จะพบผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้บ่อยเช่นเดียว
กัน


อันตรายของโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานและความสำคัญของการลดความดันโลหิต
        เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง คือ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งล้วนแต่สร้างความทุกข์ทรมานต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและญาติ เช่น ภาวะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรือแตก ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และยังก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายของการรักษาที่สูงมาก เช่น การฟอกเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง เป็นต้น ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานจัดเป็นโรคเรื้อรังที่ “รักษาได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่หายขาด” ผู้ป่วยควรจะได้รับการรักษาและติดตามไปตลอดชีวิต เนื่องจากความรุนแรงของโรคอาจจะไม่คงที่ ทำให้แพทย์อาจต้องปรับเปลี่ยนการรักษาเป็นระยะให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยในแต่ละช่วงเวลา ทั้งภาวะความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือดสูงก็จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดในที่สุด ดังนั้น ผู้ป่วยที่เป็นทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง จึงมีโอกาสที่จะเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจมากกว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียว และการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานจะช่วยลดอัตราการเกิดและการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้มากกว่าการลดความดันโลหิตในผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยจะได้ประโยชน์มากกว่าในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียวแต่ไม่ได้เป็นเบาหวาน การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นความดันโลหิตสูงร่วมด้วยก็พบว่าการควบคุมความดันโลหิตทำได้ง่ายกว่าและช่วยป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดีกว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่มีความสำคัญ


เป้าหมายของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยเบาหวาน
        ระดับความดันโลหิตเป้าหมายในผู้ป่วยเบาหวานคือ ความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 130 และความดันโลหิตค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งต่ำกว่าผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ซึ่งระดับความดันโลหิตเป้าหมายเท่ากับความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 140 และความดันโลหิตค่าล่างต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท การที่ระดับความดันโลหิตเป้าหมายในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวานก็เนื่องจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยนั้นมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไตวายเรื้อรังดังที่กล่าวแล้ว และจากการศึกษาวิจัยในทางการแพทย์พบว่าการลดความดันโลหิตลงสู่ระดับต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ก่อให้เกิดผลดีต่อผู้ป่วยมากกว่าลดความดันโลหิตลงต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอทเหมือนในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงเพียงอย่างเดียวแต่ไม่ได้เป็นเบาหวานร่วมด้วย


         นอกเหนือจากโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานแล้วยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งที่สำคัญ ได้แก่ การสูบบุหรี่และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ดังนั้น การจะป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจให้ได้ผลดีก็ต้องควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติหรือใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด และหยุดสูบบุหรี่ควบคู่ไปกับการลดความดันโลหิตด้วย


สถานการณ์การรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
        การรักษาโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขทั่วโลก กล่าวคือ ผู้ป่วยบางรายไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติใด ๆ และผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูงก็มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีเพียงร้อยละ 20 – 30  ของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเท่านั้นที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ต่ำกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท และยิ่งเป้าหมายของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย ต่ำกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน คือต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ดังที่กล่าวไปแล้วนั้น การลดความดันโลหิตลงให้ถึงเป้าหมายจึงยิ่งเป็นปัญหามากในผู้ป่วยเบาหวาน จากการสำรวจเรื่องผลการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานในประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย รวม 7 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยในปี พ.ศ. 2545 พบว่า มีเพียง 11% ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยที่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ตามเป้าหมาย   ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการรักษาโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัญหาทาง
สาธารณสุขที่สำคัญอย่างยิ่งปัญหาหนึ่งของประเทศไทย


         สิ่งที่ผู้ป่วยจะสามารถช่วยแพทย์ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดี ก็คล้ายคลึงกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

         1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การงดอาหารเค็ม การเลิกสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด การลดน้ำหนักอย่างจริงจังในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกินหรืออ้วน การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการหยุดดื่มสุราหรือจำกัดปริมาณการดื่ม ซึ่งรายละเอียดสามารถหาอ่านได้ในเอกสารเรื่อง “มารู้จักโรคความดันโลหิตสูงกันเถอะ” ของสมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย

         2. การใช้ยาลดความดันโลหิต แพทย์มักจะต้องใช้ยาลดความดันโลหิตหลายชนิดร่วมกันส่วนใหญ่มากกว่า 2 ชนิด ในการช่วยลดความดันโลหิตลงให้ถึงเป้าหมาย การใช้ยาหลายชนิดร่วมกันจะช่วยเสริมฤทธิ์ลดความดันโลหิตซึ่งกันและกัน ผู้ป่วยควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัด และแจ้งให้แพทย์ทราบหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังรับประทานยา ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะความรุนแรงของทั้งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานนั้นเปลี่ยนแปลงได้ แพทย์จึงต้องติดตามระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังต้องติดตามระดับไขมันในเลือดและประเมินสมรรถภาพ
           การทำงานของไตเป็นระยะ เพราะปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อการเกิด โรค แทรกซ้อนในอนาคตของผู้ป่วยทั้งสิ้นและยาลดความดันโลหิตแต่ละชนิด นอกจากจะ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตซึ่งเหมือนกันแล้ว ยังมีผลช่วยชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ได้ แตกต่างกันด้วย เช่น ยาลดความดันโลหิตบางชนิดสามารถช่วยชะลอการเสื่อมของไตใน ผู้ป่วยเบาหวานได้ดีกว่ายาลดความดันโลหิตชนิดอื่น ๆ ดังนั้น แพทย์จึงต้องพิจารณาเลือด ใช้ยาลดความดันโลหิตให้เหมาะกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และอาจจะต้องปรับเปลี่ยน การรักษาเมื่อสภาพของผู้ป่วยเปลี่ยนไปหรือมีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม


ข้อควรระวังที่แตกต่างไปจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน
         1. แพทย์มีแนวโน้มที่จะจ่ายยาแอสไพรินให้แก่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน แอสไพรินเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด จึงมีผลป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดแดง ถ้าท่านได้รับยานี้อยู่และจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดถอนฟัน หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้เลือดออกได้ควรแจ้งให้แพทย์ที่ทำการรักษาทราบด้วย และหยุดยาแอสไพรินก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกมากผิดปกติจากการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด

         2. ผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งรายที่เป็นมานานหรือเป็นผู้สูงอายุ มีแนวโน้มที่ความดันโลหิตอาจลดลงได้มากกว่าปกติเมื่อผู้ป่วยเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากท่านอนเป็นลุกขึ้นยืน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเป็นลมได้ ถ้าท่านมีอาการดังกล่าวควรแจ้งให้แพทย์ทราบ และระมัดระวังเมื่อจะเปลี่ยนท่าทางโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังได้รับยาลดความดันโลหิตใหม่ ๆ หรือหลังจากการปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของยาลดความดันโลหิต

         3. ระดับไขมันในเลือดเป้าหมายในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วยต่ำกว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั่วไปคือ แอลดีแอล-โคเลสเตอรอลต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


สรุป  ข้อควรทราบและข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่เป็นเบาหวานร่วมด้วย


         1. ทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถรักษาและควบคุมได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่หายขาย
         2. เป้าหมายในการลดความดันโลหิตคือ ความดันโลหิตค่าบนต่ำกว่า 130 และค่าล่างต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท
         3. ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะได้รับยาลดความดันโลหิตหลายชนิดร่วมกันเพื่อลดความดันโลหิตให้ถึงเป้าหมาย
         4. ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยไม่พบแพทย์แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ก็ตาม
         5. ควรหยุดสูบบุหรี่อย่างเด็ดขาด

ถ้าต้องการควบคุมความดันโลหิตสูง โดยมีต้นเหตุจากเบาหวาน
ลองใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดูซิคะ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

http://goodproduct.net/product/detail-19255.html  หรือ
http://goodproduct.net/product/detail-45236.html

หรือโทรสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 0879393689,0840068422

 
 


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/