สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท6/12/2024
ผู้เข้าชม5675753
แสดงหน้า7930396
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
December 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
    
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3

อ่าน 14035 | ตอบ 1
 
 วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
 
ท้องผูก
     ยาเคมีบำบัดบางชนิดส่งผลทำให้ท้องผูก  ถ้าเราทานน้ำน้อย  ยาแก้ปวด  เป็นโรคลำไส้ (มีภาวะลำไส้อุดตัน)  รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย (Fiber) ก็ทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ถ้าท้องผูกเกิน 2-3 วัน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อแพทย์จะแนะนำยาระบายให้ทานหรือลองปฏิบัติตัวตามวิธีที่กล่าวดังต่อไปนี้ เพื่อบรรเทาอาการท้องผูกเพื่อที่จะได้ไม่ต้องรับประทานยาระบาย
   - ดื่มน้ำบ่อยๆ  อย่างน้อยวันละ  2 – 3 ลิตร   ถ้าไม่มีปัญหาในช่องปาก  เช่น  ปากเป็นแผล  เจ็บคอ  เป็นต้น  ให้ทานน้ำอุ่นหรือร้อนนิดหน่อย
   - ควรดื่มน้ำอุ่นในตอนเช้าเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
   - รับประทานอาหารที่มีกาก  หรือเส้นใยสูง  เช่น  ผักสด  ผลไม้    
   - ออกกำลังกายเบาๆ ทุกวัน  เช่น  การเดินเล่นทุกวัน  วันละ  30 นาที
   - ฝึกนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระทุกเช้าให้เคยชิน
 
ผลข้างเคียงที่มีต่อผิวหนังและเล็บ
     ขณะได้รับยาเคมีบำบัด  ผิวหนังอาจจะมีอาการคันแดง  แห้งเป็นขุย  นอกจากนี้ผิวหนังก็ไวกับแสงแดดได้ง่ายขึ้น  บริเวณที่ได้รับยาผิวหนังอาจมีช้ำ  ดำเป็นจ้ำ  แต่อาการเหล่านี้จะหายไปหลังจากสิ้นสุดการทำเคมีบำบัด  ส่วนเล็บอาจจะมีสีดำ เหลือง  เปราะง่าย
     ปัญหาเหล่านี้อาจจะดูไม่รุนแรงเหมือนปัญหาอื่นๆ แต่อาการบางอย่างอาจจะนำไปสู่ปัญหาที่ร้ายแรงได้  เช่น  บริเวณที่รับยานอกจากจะมีการช้ำเป็นจ้ำบริเวณที่ได้รับยาแล้ว  ยังมีอาการปวดแสบมาก  ควรรีบปรึกษาแพทย์  บางอาการอาจจะหมายถึงการแพ้ยาก็ได้  เช่น  เป็นผื่นคันแดงทั้งตัว  เป็นต้น
 
การดูแลผิวหนังและเล็บ
   - สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องสิว  ควรล้างหน้าให้สะอาดและอาจปรึกษาแพทย์ถ้าต้องการใช้ยาทาสิว
   - หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน  และการสัมผัสความร้อน
   - ควรใช้สบู่ที่ผสมมอยเจอร์ไรเซอร์ (moisturizer)  ถ้าผิวแห้งมาก
   - ทาครีมบำรุงหรือโลชั่นขณะผิวยังชื้นๆ อยู่
   - หลีกเลี่ยงน้ำหอม  โคโลญน์  หรือโลชั่นหลังโกนหนวดที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
   - สวมถุงมือเวลาล้างจานชาม  ทำงานบ้าน  ปลูกต้นไม้  เพื่อป้องกันเล็บ
   - เล็บที่หนาและมีสีคล้ำขึ้นนั้นขึ้นนั้น  เล็บที่งอกใหม่จะกลับมามีสีปกติภายหลังหยุยา  10 – 12 สัปดาห์
   - หลีกเลี่ยงแสงแดดช่วงเวลาตั้งแต่ 10.00 น. จนถึง 16.00 น. เพราะช่วงเวลานี้แสงแดดค่อนข้างแรงมาก
   - ผลิตภัณฑ์กันแดดควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารกันแดด SPF (sun protection factor) 15 ขึ้นไป
   - ลิปบาล์มที่ใช้ควรผสมสารกันแดดด้วย
   - ควรใส่เสื้อและกางเกงขายาวขณะออกจากบ้านและใส่หมวกในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผมร่วงเพื่อป้องกันแสงแดด
   - ประคบด้วยถุงเย็นหรือแช่มือและเท้าในน้ำเย็น  เพื่อลดการไหลเวียนของเลือดไปยังฝ่ามือและฝ่าเท้า
 
ผลข้างเคียงต่อตับและไต
     ยาเคมีบำบัดบางชนิดมีผลต่อตับและไต  ดังนั้นก่อนทำเคมีบำบัดแพทย์จะทำการตรวจปัสสาวะ เลือด เพื่อดูการทำงานของตับและไต  ผู้ป่วยสามารถสอบถามแพทย์ว่ายาที่ได้รับจะมีผลต่อตับและหรือไม่ ยาเคมีบำบัดบางตัวอาจจะทำให้ปัสสาวะเปลี่ยนสีได้เป็นสี ส้ม แดง เป็นต้น หรือมีกลิ่นของยาเวลาปัสสาวะในช่วงเวลา 1-3 วันหลังจากทำเคมีบำบัด  หากผู้ป่วยมีอาการต่อไปนี้ควรรีบติดต่อแพทย์
   - ปวดแสบเวลาปัสสาวะ
   - ปัสสาวะถี่มาก หรือ ไม่สามารถปัสสาวะได้
   - ปัสสาวะมีเลือดปน
   - มีไข้สูง  หนาวสั่นมากๆ   
 
ผลข้างเคียงต่อระบบขับถ่ายปัสสาวะ
     ผู้ป่วยควรซักถามแพทย์ผู้ดูแลว่าในวันหนึ่งๆ  ทานจะดื่มน้ำได้มากน้อยเพียงใด  ในบางครั้งท่านอาจต้องดื่มน้ำมากขึ้นกว่าปกติ  เพื่อจะให้การทำงานของไตเป็นปกติขณะได้รับยาต้านมะเร็ง  นอกจากน้ำบริสุทธิ์แล้ว  น้ำผลไม้  ชา  ซุป  ไอศกรีม  น้ำแข็ง  วุ้น  เป็นอาหารที่ให้น้ำแก่ร่างกายเช่นกัน  ควรงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เช่น สุรา  เบียร์  ไวน์ ขณะได้รับเคมีบำบัด
 
สภาวะเหมือนเป็นไข้หวัด
     ส่วนมากผู้ป่วยมักจะมีอาการคล้ายเป็นหวัดหลังจากได้รับเคมีบำบัดในวันนั้นๆ โดยมักจะเป็นไม่กี่วันก็จะหาย  ส่วนมากจะเกิดกับผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดแบบผสมกับยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน อาการที่เกิดขึ้น คือ  ปวดเมื่อยเนื้อตัว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย  คลื่นไส้อาเจียน  มีไข้ต่ำ (ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส)  และไม่ค่อยอยากทานอาหาร
 
ผลกระทบระบบสืบพันธุ์
 -  เพศชาย
     ยาเคมีบำบัดอาจจะทำให้อสุจิ (Sperm) มีจำนวนลดน้อยลงและความสามารถในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิด้วย อาการนี้อาจจะเกิดขึ้นชั่วคราวหรือถาวรก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสุขภาพและอายุ ผู้ป่วยสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้แต่ต้องใส่ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ หรืออาจจะใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น เพราะยาเคมีส่งผลให้โครโมโซมที่ตัวอสุจิโดนทำลายไป และทารกที่เกิดมาอาจไม่สมบูรณ์ หลังจากที่เสร็จสิ้นการทำเคมีบำบัด (การทำเคมีบำบัดครั้งสุดท้าย) ในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงแรกนั้น ควรจะต้องใส่ถุงยางอนามัยด้วยถ้าต้องการมีเพศสัมพันธ์   

 -  เพศหญิง
     ยาเคมีบำบัดสามารถส่งผลต่อรังไข่และการผลิตฮอร์โมนลดลง ในผู้ป่วยผู้ป่วยผู้หญิงบางรายอาจจะมีอาการลักษณะเหมือนวัยหมดประจำเดือนหรือที่เรียกว่าวัยทอง  หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ  อารมณ์จะค่อนข้างแปรปรวนได้ง่าย  สำหรับการมีเพศสัมพันธ์สามารถมีได้ตามปกติแต่ควรมีการคุมกำเนิดร่วมด้วย  ถ้าเกิดช่องคลอดมีอาการแห้งสามารถใช้เจลหล่อลื่นสำหรับช่องคลอดได้  ไม่ควรใช้วาสลีนเพราะอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้  หรือปรึกษาแพทย์

 -  การตั้งครรภ์
     แม้ว่าขณะทำเคมีบำบัดผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์มีบุตรได้แต่ไม่ควรเพราะทารกที่เกิดมาอาจจะไม่สมบูรณ์มีความผิดปกติกับเด็กได้  เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องคุมกำเนิดในกรณีที่ต้องการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด  เช่น  ให้ฝ่ายชายใช้ถุงยางทุกครั้งขณะมีเพษสัมพันธ์  ใส่ห่วง  เป็นต้น  สำหรับยาคุมกำเนิดอาจจะไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยบางราย  เช่น  ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม (Breast cancer) ท่านอาจจะปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการคุมกำเนิดที่เหมาะสม
 
ผลกระทบต่อภาวะอารมณ์และจิตใจ 
     อาจจะมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง  เช่น  ซึมเศร้า  กลัว  โกรธ  หรือหมดหวัง  ความรู้สึกดังกล่าวไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพและมีผลด้านลบต่อการรักษาของผู้ป่วย  ผู้ป่วยจึงต้องการกำลังใจและความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง  การได้พูดคุยเปิดเผยความรู้สึกและความต้องการของผู้ป่วยต่อครอบครัว  เพื่อนฝูง  แพทย์  และพยาบาล  อาจำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจขึ้นบ้าง  ควรเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันใหม่บ้าง  เพื่อไม่ให้เกิดความจำเจเบื่อหน่าย  
 
ผลข้างเคียงอื่นๆ
     สีของปัสสาวะอาจเปลี่ยนได้เมื่อได้รับยาเคมีบำบัด  บางตัวอาจทำให้มีสีแดงเข้ม  หรือสีเหลืองสดได้  อาการคล้ายอาการเป็นหวัด  ถ้ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ  ปวดศีรษะ  อ่อนเพลีย  มีไข้ต่ำๆ  หลังจากได้ยา  อาจเกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง  อาการนี้จะหายไปภายใน  48  ชั่วโมง  ถ้าไม่หายต้องรีบไปปรึกษาแพทย์ อาการที่ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- เลือดออกไม่หยุด,  มีจ้ำเลือดตามร่างกาย
- มีไข้สูงเกิน  38  องศาเซลเซียส,  ปวดศีรษะ
- ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง
- เจ็บแสบ  หรือมีแผลบริเวณริมฝีปาก  เยื่อบุในช่องปาก  และลำคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้
- ผิวหนังบริเวณที่ให้น้ำเกลือมีอาการ  ปวด  เจ็บ  แสบ  สีผิวเปลี่ยนไปสีแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม
- พบจุดจ้ำเลือด  ตามผิวหนังบริเวณแขน  ขา  ลำตัวหรือใบหน้า
- กำลังมีประจำเดือนหรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
- อุจจาระมีเลือดปน
 
 จาก http://www.siamca.com

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/