สถิติ
เปิดเมื่อ19/10/2011
อัพเดท17/03/2024
ผู้เข้าชม5516116
แสดงหน้า7746592
สินค้า
บทความ
ทางเดินอาหาร
16 วิธีป้องกันท้องอืด จากโรคกรดไหลย้อนกลับ (GERD)
ภาวะกรดไหลย้อน
นม GTF
โรคลึกลับ CFS (Chronic fatigue syndrome หรือโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ) ยาแก้และวิธีแก้
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 4)
อันเนื่องมาจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ(ตอนที่ 3)
อันเนื่องมากจากความหวาน อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุ (ตอนที่ 2)
อันเนื่องมาจากความหวาน ระวัง! อ่อนเพลียโดยไม่รู้สาเหตุอย่านึกว่าเป็นเรื่องเล็ก(ตอนที่ 1)
การอนุญาตและการจดทะเบียนในประเะทศต่างๆ
สิทธิบัตรของนม GTF
สิทธิบัตรของนม GTF
นม GTF กับรูปร่างและผิวพรรณ
โรงพยาบาลที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ GTF
รางวัลต่างๆ ของนม GTF
การวิจัยและพัฒนานม GTF
ทำไมคนรุ่นใหม่...ขาดสารอาหาร
คำแนะนำการบริโภคนม GTF
รายละเอียดนม GTF
ประโยชน์ที่ได้รับจากนม GTF
VDO ประสบการณ์ผู้ใช้ GTF
VDO รายละเอียด GTF ตอนที่ 1-5
นม GT&F ช่วยให้คุณควบคุมโรคเบาหวาน ได้อย่างไร..
ทำไมต้องนม GTF
มะเร็ง
ถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านม
การฟื้นฟูร่างกายหลังได้รับเคมีบำบัด
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 3
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 2
วิธีจัดการผลข้างเคียงจากเคมีบำบัด ตอนที่ 1
วิธีป้องกันการติดเชื้อระหว่างเคมีบำบัด
แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
สารอนุมูลอิสระ (Free Radicals) คืออะไร?
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
แอสตาแซนธิน : ความทนทานและการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ
แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า
“Astaxanthin” คืออะไร?
ผิวหนัง
ตำแหน่งสิวบอกอารมณ์และโรคได้
วิธีปราบสิว
โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง ( Psoriasis )
โรคผิวหนังอักเสบ (ECZEMA)
สิว และวิธีแก้ปัญหาเกี่ยวกับ สิว เบื้องต้น
บทความทั่วไป
10 ความจริงเกี่ยวกับตัวเรา... ที่คุณอาจไม่รู้
เคล็ดลับในการกินอาหารเสริม
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
NCD : โรควิถีชีวิต (Non – communicable Diseases - NCD)
5 ผลวิจัย พิชิตความเครียด
10 การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเป็นโรค…
พลังงานแม่เหล็กบำบัดโรค
เตือน “กินน้ำตาลเกินจำเป็น” โอกาสเกิดโรคแทรกง่ายขึ้น
18 สาเหตุ ทำให้ไม่มีเรี่ยวแรง + อ่อนเพลีย
การเสียชีวิตของนักกีฬาในสนามแข่งขัน
รู้ได้อย่างไรว่า...อ้วนลงพุง หรือ เป็น Metabolic syndrome
ไม่ขับถ่ายตอนเช้าจะเกิดอะไรขึ้น
การเลือกรับประทานอาหารเสริม วิตามิน และเกลือแร่
อาหารเสริม Co-Enzyme Q10 โคเอ็นไซม์ คิวเท็น คืออะไร
วิธีป้องกัน อาการภูมิแพ้
กินยาแก้อักเสบ (ยาปฏิชีวนะ) บ่อยๆ ทำให้เชื้อโรคดื้อยา รักษาไม่หาย
แครนเบอรรี่ Cranberry
การกอด มหัศจรรย์แห่งสัมผัส
โรคภูมิแพ้
อันตรายจากบุหรี่ และตัวช่วยล้างพิษจากบุหรี่
วิธีการดื่มน้ำที่ถูกวิธี
Bell Stem Cell Activator, 60 caps
เมลาโตนิน (Melatonin)
นาฬิกาชีวภาพ นาฬิกาชีวิต
กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด ที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้
อาหารธัญพืชปรุงพิเศษ
เบาหวาน
เรื่องหวานๆ กับยาเบาหวาน
ความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวาน
ภัยเงียบ....โรคหัวใจในผู้เป็นเบาหวาน
เลือดหนืดในโรคเบาหวาน
เลือดข้นกับโรคหัวใจ
เบาหวาน
การควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน
ทางเดินปัสสาวะ
Share โรคไตวายเรื้อรัง Chronic renal failure (CRF)
สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) อาการของโรค และวิธีรักษา
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ Urinary tract infections (UTI)
สมองและระบบประสาท
โคลีน
โคลีน ไบทาร์เทรต (Choline Bitartrate)
ใบบัวบก (Gotu Kola)
DMEA
cavinton หรือ vinpocetine
Neuro-ps บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดความเครียด ช่วยเรื่องการนอนหลับ
ถาม-ตอบ เกี่ยวกับการใช้ Neuro-PS
Neuro-PS บำรุงสมอง,เสริมความจำ ลดความเครียด
บทความจากต่างประเทศ
How To Decrease Inflammation‏
Alzheimer’s on the Rise: What You Can Do
ปฎิทิน
March 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
     
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
      
สมาชิก

สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา

อ่าน 14603 | ตอบ 1
 
 
แอสตาแซนธิน : การลดความเมื่อยล้าของดวงตา
 


 

ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีข้อมูล ระบบซอฟแวร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่นำไปสู่การใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับจอแสดงภาพ (Visual Display Terminal - วีดีที) มากขึ้นโดยเฉพาะเพื่อการทำงานและเพื่อการพักผ่อน วีดีทีจัดว่ามีความสำคัญเพราะช่วยสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์ และวีดีทีก่อให้เกิดปัญหาที่พบในวงการจักษุแพทย์ เนื่องจากผู้ใช้งานวีดีทีมักเกิดอาการอ่อนล้าของดวงตา และมักมีอาการปวดกระบอกตาและอาการปวดศีรษะ อาการเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของการศึกษามากมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน ตัวอย่างเช่น การศึกษาด้านระบาดวิทยาในช่วงสิบปีที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความเมื่อยล้าของดวงตา มีบางศึกษาเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยถึง 6,000 คน ซึ่งช่วยจำแนกสาเหตุของอาการข้างต้นดังนี้: แสงไม่เพียงพอ สรีระศาสตร์ที่ไม่ดีพอ และการใช้สายตาที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น แม้ว่าจะมีข้อมูลมากขึ้นแต่การติดตามล่าสุดพบว่า การปรับปรุงแก้ไขปัจจัยดังกล่าวได้ผลกับผู้ป่วยเพียง 50% ของผู้ป่วยทั้งหมดเท่านั้น

คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ อาจมีปัจจัยร่วมอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกค้นพบในปัจจุบัน การปรับปรุงแก้ไขที่ยังไม่เพียงพอ หรืองานที่ต้องใช้สายตาเพิ่มขึ้น เป็นไปได้ว่าสาเหตุของอาการข้างต้นอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ รวมกัน ทำให้การแก้ปัญหาในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา 

ลักษณะของอาการเมื่อยล้าของดวงตาเกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองต่อแสงที่กระทบเข้าดวงตา ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เจ็บตา และการมองเห็นไม่ชัด จากแบบสอบถามมาตรฐานที่ใช้สำหรับประเมินอาการเมื่อยล้าทางสายตาของผู้ป่วย มักให้ผลสรุปว่าผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยอาการเหล่านี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที การทดสอบทางจักษุวิทยาสามารถตรวจจับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับสายตาเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ความสมบูรณ์ในการปรับโฟกัสของสายตา อัตราของปฏิกิริยาการเพ่งของสายตา (ทิศทางบวกและลบ)  การรับรู้ของสมองหลังจากประสาทตาได้ส่งสัญญาณไปถึง (CFF) และรูปแบบศักยภาพด้านการมองเห็น (PVEP) จากงานศึกษาทางคลินิกของชาวญี่ปุ่น 9 เรื่องซึ่งดำเนินการโดยองค์กรด้านจักษุวิทยา 6 แห่ง (ดำเนินงานเป็นอิสระต่อกัน) สามารถสรุปประสิทธิภาพของแอสตาแซนธินในด้านการบรรเทาอาการปวดกระบอกตา โดยแอสตาแซนธินช่วยปรับโฟกัสของสายตาให้ดีขึ้น และช่วยฟื้นสภาพของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา (รูปที่ 1); ระบบไหลเวียนเลือดไปที่เรตินอล


รูปที่1 ตำแหน่งของกล้ามเนื้อปรับสายตาในดวงตาของมนุษย์


 

อาการเมื่อยล้าของดวงตา
อาการปวดกระบอกตา หรือที่เรียกกันว่าอาการเมื่อยล้าสายตามักเกิดขึ้นในวงจรชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปสมรรถภาพการมองเห็นของดวงตาจะลดลงตามธรรมชาติจากช่วงเช้าจนถึงกลางคืน ปัญหานี้จะเพิ่มมากขึ้นหากคุณต้องใช้งานวีดีที 4-7 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการปรับโฟกัสของสายตาของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาซึ่งควบคุมการหด-ขยายของเลนส์  การศึกษาแบบสุ่มซึ่งปกปิดการรักษาทั้งสองฝ่ายร่วมกับการใช้ยาหลอก แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านบวกของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาแซนธินที่มีต่อประสิทธิภาพการมองเห็นของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดย Nagaki และคณะ (2002) พบว่า ผู้ป่วยจำนวน 13 คน ซึ่งได้รับแอสตาแซนธิน 5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 1 เดือน ลดการบ่นถึงอาการเมื่อยล้าสายตาลง 54% (รูปที่ 2) การศึกษาด้านการมองเห็นทางด้านกีฬาโดย Sawaki และคณะสรุปว่า การบอกระยะวัตถุและการรับรู้ของสมองภายหลังที่ประสาทตาได้ส่งสัญญาณไปถึง (critical flicker fusion) ดีขึ้น 46% และ 5% ตามลำดับ หลังจากรับประทานแอสตาแซนธินวันละ 6 มิลลิกรัม จำนวน 9 คน ทั้งนี้ผลของแอสตาแซนธินต่อประสิทธิภาพการมองเห็นกระตุ้นให้เกิดการศึกษาทางคลินิกด้านอื่นๆ เป็นจำนวนมาก โดยต่างก็มุ่งหวังจะประเมินปริมาณที่เหมาะสมที่สุดและจำแนกกลไกการออกฤทธิ์


รูปที่ 2 ผู้ป่วยที่ใช้ VDT และมีอาการเครียดทางสายตา ก่อนและหลังการได้รับแอสตาแซนธิน  
พบว่า มีอาการดีขึ้น จากการตอบแบบสอบถาม ในสัปดาห์ที่ 4


\
การลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา
\

การศึกษาโดย Nakamura (2004) แสดงให้เห็นถึงการลดอาการเมื่อยล้าของดวงตาอย่างมีนัยสำคัญและให้ผลบวกในกลุ่มที่ได้รับยาขนาด 4 มิลลิกรัม (p<0.05) และ 12 มิลลิกรัม (p<0.01) Nitta และคณะ (2005) เป็นผู้ริเริ่มการกำหนดขนาดของแอสตาแซนธินที่ควรได้รับในแต่ละวัน คือ 6 มิลลิกรัม จำนวน 10 คน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นจึงเปรียบเทียบอาการเมื่อยล้าของดวงตาโดยใช้แบบประเมินระดับความเจ็บปวดซึ่งอ้างอิงจากแบบสอบถามและค่าที่ได้รับจากการประเมิน กล่าวคือกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมมีอาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ณ สัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของการทดสอบ นอกจากนี้ผลจากการศึกษาของ Shiratori และคณะ (2005) และ Nagaki และคณะ (2006) ต่างยืนยันว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัมติดต่อกัน 4 สัปดาห์ช่วยลดอาการเมื่อยล้าสายตา อาการเจ็บตา อาการตาแห้ง และการมองเห็นไม่ชัด การศึกษาของ Takahashi และ Kajita (2005) แสดงผลเช่นเดียวกันว่าแอสตาแซนธินช่วยลดอาการเมื่อยล้าของดวงตา (ตรงข้ามกับการรักษาอาการเมื่อยล้าของดวงตา) จึงแนะนำให้ใช้สำหรับป้องกันมากกว่าใช้เพื่อการรักษา โดยกลุ่มที่รับการรักษาด้วยแอสตาแซนธิน (กลุ่มที่ไม่มีอาการเมื่อยล้าของดวงตา) สามารถฟื้นตัวได้ไวกว่ากลุ่มควบคุมหลังจากถูกกระตุ้นการมองเห็นอย่างหนัก  

เนื่องจากแบบสอบถามอาจมีข้อจำกัดสำหรับแต่ละบุคคล ดังนั้นการวัดผลปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมื่อยล้าของดวงตาโดยตรงจะเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีกว่า ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงระยะการปรับโฟกัสของตา (รูปที่3);  อัตราของปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตา (ทิศทางบวกและลบ) การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางด้านการมองเห็น และการสื่อประสาทของระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่า การปรับระดับโฟกัสของตาปรับตัวดีขึ้นหลังจากการรักษา (Nagaki และคณะ 2002, 2006; Nakamura และคณะ 2004; Takahashi และ Kajita, 2005; Shiratori และคณะ, 2005; Nitta และคณะ, 2005) อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางด้านการมองเห็นและการสื่อประสาทของระบบประสาทเกี่ยวกับการมองเห็น (Sawaki และคณะ 2002; Nagaki และคณะ 2002; Nakamura และคณะ 2004) ดังนั้นกลไกของแอสตาแซนธินด้านการลดความเมื่อยล้าของสายตา คือ การปรับโฟกัสของตา


รูปที่ 3 การปรับโฟกัสของตาในการมองวัตถุ (Nitta และคณะ, 2005)พบว่า 
การปรับโฟกัสของตาในการมองวัตถุดีขึ้นเมื่อรับประทานแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัม

กลไกการออกฤทธิ์: ปรับปรุงระยะการปรับโฟกัสของตา เพิ่มการไหลเวียนเลือด และต้านการอักเสบ
การวัดระยะการปรับโฟกัสของตาจะตรวจวัดคุณสมบัติการหักเหของเลนส์ โดยสอดคล้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา กล้ามเนื้อลูกตามัดเล็กๆ ทำหน้าที่ควบคุมความหนาของเลนส์เพื่อปรับโฟกัสแสงบนจอประสาทตา หากมีการใช้สายตาอย่างหนักดวงตาจะโฟกัสบนระยะวัตถุคงที่เป็นระยะเวลานานทำให้กล้ามเนื้อหดตัวหรือเกิดความเมื่อยล้า ซึ่งตรวจพบได้จากการทดสอบระยะการปรับโฟกัสของตา การทดสอบเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้: ระยะการปรับโฟกัสของตา ปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตา (ทิศทางบวกและลบ) และองค์ประกอบที่มีความถี่สูง การศึกษาทางคลินิกผสมผสานการทดสอบระยะการปรับโฟกัสของตา เพื่อแสดงถึงปริมาณของอาการเมื่อยล้าที่เกิดขึ้น เช่น การเพิ่มระยะการปรับโฟกัสของตาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา แสดงถึงปฏิกิริยาที่ดีขึ้นต่อการมองวัตถุทั้งระยะใกล้และระยะไกล (Nagaki และคณะ 2002, 2006; Nakamura และคณะ, 2004) รูปที่ 4 และ รูปที่ 5 เกี่ยวข้องกับอัตราของปฏิกิริยาการปรับระดับโฟกัสของตาที่เร็วขึ้นจากการตรวจวัดในกลุ่มที่รักษาด้วยแอสตาแซนธิน 

รูปที่ 4 การเปลี่ยนแปลงในการปรับโฟกัสของตาในทิศทางบวก (Shiratori และคณะ, 2005)  
พบว่า การปรับโฟกัสของตาในทางบวกดีขึ้น เมื่อได้รับแอสตาแซนธิน  6 มิลลิกรัม



รูปที่ 5 การปรับโฟกัสของตาในทิศทางลบ (Shiratori และคณะ, 2005) 
พบว่า การปรับโฟกัสของตาในทิศทางลบดีขึ้นเมื่อรับประทานแอสตาแซนธินขนาด 6 มิลลิกรัม

สิ่งเหล่านี้แสดงถึงระดับความเร็วของกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตา ต่อการเปลี่ยนทิศทางจุดโฟกัส (ผลบวกหมายถึงระยะวัตถุที่อยู่ใกล้ 35 เซนติเมตร ถึงระยะวัตถุที่อยู่ใกล้ 5 เมตร หรือในทำนองเดียวกัน) (Nitta และคณะ 2005; Shiratori และคณะ 2005; Nakamura และคณะ 2005)่งชี้จากระยะการปรับโฟกัสของตา ้นการมองเห็นอย่างหนัก

ผลจากแอสตาแซนธินจะแสดงอย่างมีนัยสำคัญนับจาก 2 สัปดาห์ เทคนิคอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า HFC ซึ่งจะตรวจวัดความผันผวนระดับจุลภาคของเลนส์ ระหว่างการตอบสนองต่อระยะการปรับโฟกัสของตาโดยตรง (ค่าปกติสำหรับระดับสายตาปกติอยู่ระหว่าง 50– 60) ผู้ที่มีอาการปวดกระบอกตาซึ่งมีค่ามากกว่า 60 จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว (รูปที่ 6) โดยที่ผล HFC ของผู้ป่วยเหล่านี้จะลดลงจนถึงระดับปกติอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (Takahashi และ Kajita 2005)


รูปที่ 6 การฟื้นตัวด้านการปรับโฟกัสของตาซึ่งสังเกตจากความแตกต่างที่ตรวจวัดด้วยเทคนิค HFC (Takahashi และ Kajita, 2005) พบว่า แอสตาแซนธิน ช่วยในการฟื้นตัวด้านการปรับโฟกัสของตาซึ่งตรวจวัดด้วยเทคนิค HFC ระหว่างช่วงการพักภายหลังจากการทำงานที่ใช้สายตา

การศึกษาแบบสุ่มร่วมกับยาหลอกโดย Nagaki และคณะ (2005) ตรวจพบการเพิ่มขึ้นของปริมาณการไหลเวียนเลือดบริเวณเรตินาในกลุ่มที่ได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 14 คน (p<0.01) เนื่องจากสาเหตุที่แท้จริงเกี่ยวกับการปรับปรุงระยะการปรับโฟกัสของตาซึ่งเกิดจากแอสตาแซนธินยังไม่ชัดเจน ผู้เขียนจึงตั้งสมมติฐานว่า อาจเกิดขึ้นจากการปรับปรุงสภาพการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้นซึ่งตรวจสอบได้จากหลอดเลือดฝอยของเรตินา ซึ่งเสมือนว่ามีเลือดหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การปรับปรุงสภาพการไหลดังกล่าวยังสอดคล้องกับการศึกษาของ Nagaki และคณะ (2005) ซึ่งศึกษาอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี 10 คน และได้รับแอสตาแซนธิน 6 มิลลิกรัมเป็นเวลา 10 วัน (รูปที่ 7) ตรวจพบอัตราการไหลเวียนเลือด (ex-vivo) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) ซึ่งผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องวิเคราะห์ Micro-array channel flow analyzer (MC- FAN)


รูปที่ 7 การเพิ่มการไหลของเลือดในจอประสาทตา (Nagaki et al., 2005) 
พบว่า การไหลเวียนของเลือดในจอประสาทตาเพิ่มขึ้นเมื่อใช้สารแอสตาแซนธินเป็นเวลา 4 สัปดาห์\ 

ผลการวิจัยล่าสุด ด้านจักษุวิทยาของญี่ปุ่นซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง ฮอกไกโด โยโกฮาม่า และเกียวโต สรุปคุณสมบัติด้านการต้านการอักเสบของแอสตาแซนธินที่เกี่ยวกับสารเอนโดทอกซิน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดโรคม่านตาอักเสบ (EIU หรือ การอักเสบของตา) ทั้งแบบทดลองในสิ่งมีชีวิตและในหลอดทดลอง Ohgami และคณะ (2003) พบว่าการทดลองให้ปริมาณของแอสตาแซนธิน 1, 10 หรือ 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในหนู จำนวน 8 ตัว (p<0.01) ช่วยลดการอักเสบอย่างมีนัยสำคัญ เช่น การสังเคราะห์ไนตริกออกไซด์ (NOS) พรอสตาแกลนดิน E2 (PGE2) และ ทูเมอร์เนโครซิสแฟคเตอร์ (TNF)-α ขณะที่ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพอื่นๆ ที่ลดลง ได้แก่ การซึมน้ำของเซลล์ และการสร้างโปรตีนในของเหลวในช่องลูกตา

การศึกษาของ Suzuki และคณะ (2006) ยืนยันถึงประสิทธิภาพของแอสตาแซนธิน พวกเขาทำการศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของแอสตาแซนธินที่ม่านตาและกล้ามเนื้อปรับเลนส์ตาในดวงตาของหนู การศึกษาครั้งนี้นับเป็นการศึกษาครั้งแรกซึ่งพิสูจน์ว่า แอสตาแซนธินออกฤทธิ์ลดการกระตุ้น NF-kB ด้วยอนุมูลอิสระใน EIU Rat Model (รูปที่ 8) โดยผลการทดลองพบว่า การตอบสนองของปฏิกิริยาก่อนการอักเสบลดลง มิเช่นนั้นแล้วบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบอย่างถาวร การศึกษาครั้งนี้ช่วยอธิบายว่า เหตุใดแอสตาแซนธินจึงช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าทางสายตาซึ่งพบในการศึกษาทางคลินิกต่างๆ  

รูปที่ 8 จำนวนของเซลล์ NF-kB ในกล้ามเนื้อปรับสายตาในช่วงที่อักเสบ (Suzuki และคณะ 2006) พบว่า แอสตาแซนธินลดจำนวนของเซลล์ที่อักเสบในกล้ามเนื้อปรับสายตา

แอสตาแซนธินต้องผ่านทะลุเข้าผนังกั้นเส้นเลือดที่เรตินาของมนุษย์ (BRB) ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดโดยตรงเนื่องจากยังไม่มีวิธีวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ อย่างไรก็ตาม BRB จัดเป็นผนังกั้นแบบเลือกผ่านที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับผนังกั้นเลือดในสมอง (BBB) ดังนั้นจึงคาดหวังว่า แอสตาแซนธินจะสามารถทะลุผ่านผนังกั้นแบบเลือกผ่านเนื่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กกว่า 600 ดาลตัน แอสตาแซนธินเป็นสารแคโรทีนอยด์ กลุ่มแซนโทฟิลล์ เช่นเดียวกับลูทีนและซีแซนทีน ซึ่งตรวจพบมากที่จอประสาทของดวงตา (แซนโทฟิลล์เป็นแคโรทีนอยด์เพียงกลุ่มเดียวที่พบในดวงตา ต่างจากเบต้า-แคโรทีน หรือไลโคปีน ซึ่งอยู่ในกลุ่มแคโรทีน)


อนาคต
อาการเมื่อยล้าของดวงตาเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปหากเราใช้งานวีดีทีอย่างต่อเนื่องหรือมากเกินไป บางครั้งอาจแก้ปัญหาได้จากการวิเคราะห์หาสาเหตุ ผ่านการศึกษาทางระบาดวิทยาซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก อย่างไรก็ตามหากแนวโน้มของการปรับปรุงแก้ไขในปัจจุบันมีความสำเร็จเพียง 50% และอาจมีปัจจัยอื่นๆ มาเกี่ยวข้องอีก ดังนั้น แอสตาแซนธินจึงเป็นทางเลือกใหม่สำหรับการลดอาการอักเสบ การปรับปรุงการปรับระยะโฟกัสของสายตา และการเพิ่มการไหลเวียนเลือด

References
1. Iwasaki & Tawara, (2006). Effects of Astaxanthin on Eyestrain Induced by Accommodative Dysfunction. Journal of Eye (Atarashii Ganka) (6):829-834.
2. Suzuki et al., (2006). Suppressive effects of astaxanthin against rat endotoxin-induced uveitis by inhibiting the NF-kB signaling pathway. Exp. Eye Res., 82:275-281.
3. Nagaki et al., (2006). The supplementation effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia. J. Clin. Therap. Med., 22(1):41-54.
4. Miyawaki et al., (2005). Effects of astaxanthin on human blood rheology. J. Clin. Therap. Med., 21(4):421-429.
5. Nitta et al. (2005). Effects of astaxanthin on accommodation and asthenopia-Dose finding study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(6):637-650.
6. Shiratori et al. (2005). Effect of astaxanthin on accommodation and asthenopia- Efficacy identification study in healthy volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(5):543-556.
7. Takahashi & Kajita (2005). Effects of astaxanthin on accommodative recovery. J. Clin. Therap. Med., 21(4):431-436.
8. Nagaki et al. (2005). The effects of astaxanthin on retinal capillary blood flow in normal volunteers. J. Clin. Therap. Med., 21(5):537-542.
9. Nakamura et al l. (2004). Changes in Visual Function Following Peroral Astaxanthin. Japan J. Clin. Opthal., 58(6):1051-1054.
10. Ohgami et al., (2003). Effects of astaxanthin on lipopolysaccharide-induced inflammation in vitro and in vivo. Invest. Ophthal. Vis. Sci., 44(6):2694-2701.
11. Nagaki Y., et al., (2002). Effects of astaxanthin on accommodation, critical flicker fusions, and pattern evoked potential in visual display terminal workers. J. Trad. Med., 19(5):170-173.
12. Sawaki, K. et al. (2002) Sports performance benefits from taking natural astaxanthin characterized by visual activity and muscle fatigue improvements in humans. J. Clin. Ther. Med., 18(9):73-88.

 
   
สนใจผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแอสตาแซนธิน(Astaxanthin) คลิ๊กสั่งซื้อได้ที่เวป
http://goodproduct.net/product/detail-108978.html

รือโทร 087-9393-689 หรือ 084-0068-422
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 

ตรวจสอบสถานะ การจัดส่งของที่สั่ง ทางไปรษณีย์ แบบพัสดุ ลงทะเบียน และ EMS http://track.thailandpost.co.th/