แอสตาแซนธิน : สารต้านอนุมูลอิสระที่เหนือกว่า |
|
แอสตาแซนธิน – แคโรทีนอยด์ แซนโทรฟิลล์
ในธรรมชาติแหล่งแอสตาแซนธินที่เข้มข้นที่สุดพบอยู่ใน Microalgae สีเขียวสายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธินสูงถึง 7% ของน้ำหนักเซลล์แห้ง Microalgae สีเขียวชนิดนี้อยู่ที่ฐานล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร สาหร่ายชนิดนี้มีหน้าที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับแหล่งสารอินทรีย์ธรรมชาติเพื่อผลิตสสารและอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก โดยแอสตาแซนธินจะสะสมอยู่ในถุงไขมันของ Microalgae ในภาวะขาดแคลนสารอาหารและภาวะเครียดจากสิ่งแวดล้อม แอสตาแซนธินทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียสของเซลล์จากรังสียูวีที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ Oxidative Stress ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายดีเอ็นเอของตัวมันเอง และทำให้แหล่งพลังงานที่สะสมไว้เกิดปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดชั่นของไขมัน
สารจากแหล่งธรรมชาติ
แอสตาแซนธิน คือ สารแคโรทีนอยด์ธรรมชาติที่พบในสภาพแวดล้อมทางทะเลไปจนถึงแอ่งหินทั่วไป แอสตาแซนธินเป็นสารที่ทำให้เนื้อปลาแซลมอน กุ้ง และ กุ้งมังกรมีสีชมพูและสีแดง การรับแอสตาแซนธินและแคโรทีนอยด์ประเภทอื่นๆในสัตว์นั้นจะได้รับจากการกินอาหาร เนื่องจากพวกมันไม่สามารถผลิตแคโรทีนอยด์ได้ด้วยตัวเอง ผู้ที่สามารถผลิตแอสตาแซนธินในธรรมชาติได้แก่ Microalgae รา และแบคทีเรียบางชนิดในขณะที่พืชจำนวนน้อยชนิดที่สามารถผลิตสารแอสตาแซนธินได้
พลังงานจากธรรมชาติสู่ชีวิตมนุษย์
ในธรรมชาติแหล่งแอสตาแซนธินที่เข้มข้นที่สุดพบอยู่ใน Microalgae สีเขียวสายพันธุ์ Haematococcus pluvialis ซึ่งมีสารแอสตาแซนธินสูงถึง 7% ของน้ำหนักเซลล์แห้ง Microalgae สีเขียวชนิดนี้อยู่ที่ฐานล่างสุดของห่วงโซ่อาหาร สาหร่ายชนิดนี้มีหน้าที่นำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ร่วมกับแหล่งสารอินทรีย์ธรรมชาติเพื่อผลิตสสารและอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก โดยแอสตาแซนธินจะสะสมอยู่ในถุงไขมันของ Microalgae ในภาวะขาดแคลนสารอาหารและภาวะเครียดจากสิ่งแวดล้อม แอสตาแซนธินทำหน้าที่ปกป้องนิวเคลียสของเซลล์จากรังสียูวีที่กระตุ้นให้เกิดภาวะ Oxidative Stress ซึ่งอาจนำไปสู่การทำลายดีเอ็นเอของตัวมันเอง และทำให้แหล่งพลังงานที่สะสมไว้เกิดปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดชั่นของไขมัน
การกำจัดอนุมูลอิสระและการปกป้องเยื่อหุ้มเซลล์
แอสตาแซนธินอยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีวิถีสังเคราะห์ทางชีวภาพบางส่วนร่วมกับ เบต้า-แคโรทีน ดังนั้นสารทั้งสองชนิดจึงมีโครงสร้างเป็นสายโพลิอีน ซึ่งมีความสามารถในการกำจัดสารอนุมูลอิสระ แอสตาแซนธินเป็นสารที่อยู่ในกลุ่มย่อยของแซนโทรฟิลล์ ทั้งนี้เนื่องจากมีหมู่คีโต และ ไฮดรอกซี จับกับวงแหวนไอโซพรีน จึงทำให้แอสตาแซนธินสามารถปรับตัวเองอยู่ได้ทั้งส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิก(ชั้นน้ำ)และไฮโดรโฟบิก(ชั้นไขมัน)ได้อย่างเหมาะสม จึงมีคุณสมบัติที่เหนือกว่าในการป้องกันผนังเซลล์แบบ Lipid bilayer จากปฏิกิริยาเพอรอกซิเดชัน ต่างกับเบต้า-แคโรทีน จะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นไขมันและวิตามินซีจะอยู่ได้เฉพาะส่วนที่เป็นชั้นน้ำ
การยับยั้งปฏิกิริยา Lipid peroxidation
การเปรียบเทียบการใช้ Carotenoid ชนิดต่างๆในการกำจัดอนุมูลอิสระ พบว่าแอสตาแซนธินมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการยับยั้งปฏิกิริยา Lipid peroxidation โดยใช้ปริมาณน้อยที่สุด
Miki, W. Pure&Appl.Chem., 1991;63(1):141-46
ความปลอดภัยของสารแอสตาแซนธิน
สารแอสตาแซนธินเป็นสารมีความปลอดภัยสูงสำหรับมนุษย์บริโภค เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในมื้ออาหารของมนุษย์มายาวนานหลายพันปี ตัวอย่างเช่น เนื้อปลาแซลมอนที่มีสีเข้มขนาดหนึ่งหน่วยบริโภคจะมีสารแอสตาแซนธินบริสุทธิ์ 3 - 6 มิลลิกรัม เป็นต้น การศึกษาความเป็นพิษโดยใช้สารสกัดแอสตาแซนธินหรืออาหารที่ผลิตจาก Microalgae Haematococcus sp. ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนธินพบว่า ไม่มีการแสดงผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์อย่างร้ายแรงใด นอกจากนี้ยังมีหลายการทดลองทางคลินิก ที่ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองรับประทานอาหารที่ผลิตจาก Microalgae ที่อุดมไปด้วยแอสตาแซนธิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน นับตั้งแต่ปี 1995 มีการจำหน่ายแอสตาแซนธินในรูปแบบอาหารที่ผลิตจาก Microalgae ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารสกัดแอสตาแซนธินตั้งแต่ปี 1999 โดยไม่มีการรายงานถึงผลกระทบทางด้านลบแต่อย่างใด
ศักยภาพของสารต้านอนุมูลอิสระ
ด้วยโครงสร้างทางเคมีรูปแบบจำเพาะเหมือนกับสารแคโรทีนอยด์ และความสามารถที่เหนือกว่าในการปรับตัวอยู่ในชั้นผนังเซลล์ได้ทั้งชั้นน้ำและชั้นไขมัน สารแอสตาแซนธินจึงมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระดังนี้
• |
สูงกว่ากว่าวิตามินอี (แอลฟา-โทโคฟีรอล) 550 เท่า และสูงกว่า เบต้า-แคโรทีน 40 เท่า
|
•
• |
สูงกว่าสารสกัดจากเม็ดองุ่น 17 เท่า
ศักยภาพในการต้านปฏิกิริยาเพอร์ออกซิเดทีฟที่ผนังเซลล์
|
•
• |
ยับยั้ง NF-kB ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ
ยับยั้งความเสียหายของดีเอ็นเอ (8-OHdG)
|
• |
การเปรียบเทียบกับสารต้านอนุมูลอิสระชนิดอื่นๆ (วิตามินอีธรรมชาติ วิตามินเอ วิตามินซี เบต้าเเคโรทีน ไลโคปีน ลูทีน)
+
+ |
ป้องกันการเกิดเพอร์ออกซิเดชั่นของไขมันได้อย่างดีเยี่ยม
เป็นสารกำจัดสารอนุมูลอิสระที่แรงที่สุด |
+
+ |
กระตุ้นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน
มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันการอักเสบ
การป้องกันเมื่อใช้งานร่วมกับสารอื่น
- |
เมื่อใช้ร่วมกับไลโคปีน - แอสตาแซนธินสามารถต้านการออกซิเดชั่นได้ดีกว่าการใช้ไลโคปีน ลูเทอีน หรือ แอสตาแซนธินอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญ |
- |
เมื่อใช้ร่วมกับกรดไลโปอิก เรสเวอราทรอล เออโกไธไอนีน กรดแอสคอร์บิก โสม กระเทียม แปะก๊วย12 - สามารถเพิ่มศักยภาพการต้านสารอนุมูลอิสระได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
- |
ผลการทดสอบพบว่า สามารถป้องกันสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่า เมื่อใช้ร่วมกับโทโคไทรอีนอล |
|
|
ความปลอดภัยสูงสุด : แคโรทีนอยด์ และโปร-ออกซิเดชั่น
สารแอสตาแซนธินจัดเป็น “สารต้านอนุมูลอิสระบริสุทธิ์” ไม่เหมือนกับสารแคโรทีนอยด์ประเภทอื่น เช่น เบต้า-แคโรทีน ลูทีน และ ไลโคปีน ซึ่งอาจจะแสดงลักษณะ “โปร-ออกซิเดทีฟ” ในบางสภาวะกลายเป็นสารอนุมูลอิสระ ที่สามารถโจมตีเซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ได้ ตัวอย่างของโปรออกซิแดนท์ ได้แก่ มลภาวะทางอากาศ การโดนแสงอัลตราไวโอเลต คลื่นรังสี และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
References
1. |
Miki, W., Biological functions and activities of animal carotenoids. Pure and Appl. Chem. 1991; 63: 141-6. |
2. |
Shimizu, N., et al., Carotenoids as singlet oxygen quenchers in marine organisms. Fisheries Sci. 1996; 62: 134-7. |
3. |
Fuji Chemical Industry Co., Ltd., Outsourced test by Collaborative Labs, Setauket, NY 2001. |
4. |
Goto S. et al., Efficient Radical Trapping at the Surface and Inside the Phospholipid Membrane is Responsible for Highly Potent Antiperoxidative Activity of the Carotenoid Astaxanthin. Biochim Biophys Acta. 2001; 1512(2):251-8. |
5. |
Lee SJ. et al., Astaxanthin Inhibits Nitric Oxide Production and Inflammatory Gene Expression by Supressing IκB Kinase-dependent NF-κB Activation. Mol. Cells 2003; 16(1):97-105. |
6. |
Naito Y., et al., Prevention of Diabetic Nephropathy by Treatment with Astaxanthin in Diabetic db/db Mice. BioFactors 2004; 20:49-59. |
7. |
Naguib Y.M.A., Antioxidant activities of Astaxanthin and related carotenoids. J. Agric. Food.Chem. 2000, 48, 1150-1154. |
8. |
Nishigaki I., et al., Suppressive effect of astaxanthin on lipid peroxidation induced in rats: J.Clin.Biochem.Nutr., 1994; 16,161-166. |
9. |
Jyonouchi, H. et al., Studies of immunomodulating actions of carotenoids. II. Astaxanthin enhances in vitro antibody production to T-dependent antigens without facilitating polyclonal B-cell activation. Nutr. Cancer 1993; 19: 269-80. |
10. |
Ohgami K., et al., Effects of astaxanthin on lipopolysaccharide-induced inflammation in vitro and in vivo. Invest Ophthalmol Vis Sci., 2003; 44: 2694-2701. |
11. |
Lino et al., Kyoto 1991 ; In Japanese. |
12. |
Babish J.G., Composition Exhibiting Synergistic Antioxidant Activity US Patent Applied 2000. |
13. |
Babish J.G., Compositions Containing Carotenoids and Tocotrienols and having Synergistic Antioxidant Effect. US Patent Applied 2000. |
14. |
Martin, H. D. et al., Chemistry of carotenoid oxidation and free radical reactions. Pure Appl., 1999 71(12):2253-2262. |
|
|
|
|
สนใจผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับแอสตาแซนธิน(Astaxanthin) คลิ๊กสั่งซื้อได้ที่เวป
|